wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women paula young wigs wigs wig shampoo short hair wigs wigs wigs
กระบวนการลูกขุนพลเมือง

กระบวนการลูกขุนพลเมือง

    | หมวด : ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ  |  เปิดอ่าน 1832 ครั้ง  

          กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizen jury) เป็นกระบวนการรับฟังความเห็นรูปแบบใหม่ โดยโจทย์ที่ใช้ในการถกแถลงจะมีความจำเพาะเจาะจงกับประเด็นใดประเด็นหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งประเด็นนั้นๆ ควรจะเป็นประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งหรือเห็นต่างกันในสังคมค่อนข้างมาก และมีข้อแนะนำว่าจำนวนลูกขุนพลเมืองที่เหมาะสมควรมีจำนวนอยู่ระหว่าง ๑๒ – ๒๔ คน ซึ่งจะเน้นระยะเวลาในการมาอยู่ร่วมกันเพื่อถกแถลงต่อประเด็นนั้นๆ อย่างมีคุณภาพรอบคอบรอบด้านในช่วงเวลาประมาณ ๓-๕ วัน ดังรายละเอียด (เอกสารแนะนำกระบวนการลูกขุนพลเมือง และ วีดีโอแนะนำกระบวนการลูกขุนพลเมือง)
          กระบวนการนี้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกระบวนการ และมีสถาบันพระปกเกล้าทำการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational research) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ได้ชุดความรู้ของการจัดกระบวนการลูกขุนพลเมือง และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในกระบวนรับฟังความเห็นต่อนโยบายสาธารณะในประเทศไทย
          เนื่องจากกระบวนการลูกขุนพลเมืองเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย และเป็นกระบวนการที่ สช. นำมาใช้ครั้งแรกในการรับฟังความเห็นต่อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ จึงวางแผนว่าจะทดลองนำกระบวนการลูกขุนพลเมืองมาใช้ถกแถลงใน เรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ เนื่องจากสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงควรมีการมุ่งเน้นเตรียมพร้อมในการกำหนดทิศทางด้านนโยบายในธรรมนูญสุขภาพเพื่อรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น สช. จึงได้จัดเวทีลูกขุนพลเมืองเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุขึ้น เมื่อ ๗-๑๐ มกราคม ๒๕๕๘ มีคณะลูกขุนพลเมืองที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างมาร่วมเวทีจำนวน ๑๒ คน อายุอยู่ระหว่าง ๓๕–๗๕ ปี คละเพศ อาชีพ และระดับการศึกษา โดยสุ่มตัวอย่างมาจากกรุงเทพมหานคร และอีก ๔ จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี ใช้โจทย์ในการถกแถลง ดังนี้

(๑) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของสังคมไทยในปัจจุบันควรจะคงอยู่หรือควรมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร
(๒) ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องภาระการดูแลผู้สูอายุระยะยาว: เจ้าภาพควรเป็นใคร (บริหารระบบและจัดระบบสนับสนุนต่างๆ) ภาครัฐ/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ ชุมชน/ ครอบครัว
(๓) ใครควรจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างยั่งยืน: ภาครัฐ/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ ชุมชน/ ครอบครัว
คณะลูกขุนพลเมืองได้รับฟังข้อมูลอย่างรอบด้านในช่วง ๓ วันแรก จากผู้ให้ข้อมูลหรือพยานจำนวน ๑๓ คน ซึ่งมีทั้งนักวิชาการและผู้ที่มีประสบการณ์จากการดูแลผู้สูงอายุ โดยคณะลูกขุนพลเมืองสามารถซักถามและหารือพูดคุยเพื่อทำความเข้าจากพยานได้อย่างเต็มที่ และมีผู้ดำเนินรายการช่วยสรุปข้อมูลที่ได้รับจากพยานในทุกๆ ช่วงของการนำเสนอข้อมูล ผู้ดำเนินรายการชวนคณะลูกขุนพลเมืองให้คิดและถกแถลงในแง่มุมต่างๆ เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ จนกระทั่งในวันสุดท้ายคณะลูกขุนพลเมืองได้มีการถกแถลงและได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยได้จัดทำเป็นแถลงการณ์หรือผลการตัดสินใจเรื่องระบบการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุของประเทศไทยออกมา คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

 

Last modified onWednesday, 11 October 2017 03:46