wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women paula young wigs wigs wig shampoo short hair wigs wigs wigs
การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

    | หมวด : ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ  |  เปิดอ่าน 4812 ครั้ง  

การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ Featured

          เนื่องจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงรอบของการทบทวนภายในปี ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานทางวิชาการและการรับฟังความเห็นเพื่อการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ โดยยึดหลักการสำคัญ คือ หลักการสร้างการรับรู้และเรียนรู้ของสังคม หลักการสร้างความเป็นเจ้าของ และหลักการมีส่วนร่วม ซึ่งเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ คสช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้น จากองค์ประกอบที่หลากหลาย เพื่อให้กระบวนการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ที่ผ่านมา สช. ได้สนับสนุนการทำงานทางวิชาการร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยได้ร่วมกันจัดทำโครงการศึกษาและทบทวนความรู้จากกระบวนการขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งโครงการนี้แบ่งการทำงานออกเป็น ๓ ส่วน มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการทบทวนธรรมนูญสุขภาพ ปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาเสร็จสมบูรณ์แล้วทั้ง ๓ ส่วน ดังนี้

๑. การประเมินผลและทบทวนแนวคิดการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพและสังคมไทย
๒. การศึกษาเพื่อทบทวน ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ รวมถึงโอกาสและภัยคุกคามของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติรายหมวด
๓. การวิเคราะห์และจัดทำภาพอนาคตของระบบสุขภาพในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า

          นอกจากนี้ สช. ได้จัดกระบวนการรับฟังความเห็นไว้ ๓ รูปแบบหลัก เพื่อให้สังคมเกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการทบทวนธรรมนูญสุขภาพ ได้แก่ กระบวนการประชาเสวนาหาทางออก (Public deliberation) กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizen jury) และกระบวนการรับฟังความเห็นโดยคณะวิชาการเฉพาะประเด็น โดยข้อมูลที่ได้จากกระบวนการรับฟังความเห็นทั้งหมดนั้นจะถูกนำมาใช้ในการร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับทบทวน และคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ จะเสนอเข้าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบต่อไป

Last modified onMonday, 14 September 2015 10:32