wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women paula young wigs wigs wig shampoo short hair wigs wigs wigs
การสนับสนุนกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพทุกระดับ

การสนับสนุนกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพทุกระดับ

    | หมวด : ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ  |  เปิดอ่าน 3015 ครั้ง  

          การสนับสนุนการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับในการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ไปใช้งาน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในด้านสุขภาพ นั้น จำเป็นต้องจัดทำสื่อและข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

๑. การผลิตสื่อและฐานข้อมูลความรู้พื้นฐาน ได้แก่

• หนังสือชุดความรู้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ที่ประกอบด้วยเนื้อหา พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ประกอบกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
• รู้จักและเข้าใจธรรมนูญฯ (ฉบับการ์ตูน)
• สธ.-สช.ใบไม้ต้นเดียวกัน
• การประเมินและทบทวนธรรมนูญสุขภาพ
• การสังเคราะห์สถานการณ์ระบบสุขภาพ และภาพอนาคตระบบสุขภาพ

๒. การผลิตหนังสือในลักษณะของแนวทางปฏิบัติ (How to) ที่ว่าด้วยกระบวนการใช้ประโยชน์ธรรมนูญสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ ได้แก่

• แนวทางการนำธรรมนูญสุขภาพฯ ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• แนวทางการนำธรรมนูญสุขภาพฯ ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน
• ถอดบทเรียนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ๔ พื้นที่ ชุด ‘ก่อ ร่าง สร้าง เคลื่อน ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่’

๓. สื่อวีดิทัศน์เกี่ยวข้องกับการนำธรรมนูญสุขภาพฯ

• การใช้สื่ออื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของธรรมนูญสุขภาพฯ เช่น Roll up นิทรรศการธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ
• การพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับพื้นที่ เช่น
• การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพฯ ๔ พื้นที่ภาคเหนือ
• โครงการจุดประกายศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งผ่านกลไกธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ให้แก่แกนนำชุมชน ๕ พื้นที่
• การถอดบทเรียนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ๔ พื้นที่ภาคเหนือ โดยสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน นครสวรรค์
• การเสวนาวิชาการสมัชชาสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพในงาน ๑ ทศวรรษสมัชชาสุขภาพ
• โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพฯ หลังประกาศใช้จำนวน ๙ พื้นที่
• โครงการเสริมพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ: ธรรมนูญสุขภาพ อย่างต่อเนื่องจำนวน ๖ ครั้งเพื่อจุดประกายการจัดทำธรรมนูญ ในปีที่ผ่านมา
• สนับสนุนสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้ จ.สงขลา และเทศบาลตำบลเปือย จ.อำนาจเจริญ จัดกระบวนการเรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นที่สนใจการจัดทำธรรมนูญสุขภาพฯ รวม ๓ ครั้ง
• การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งผ่านกลไกธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ได้สนับสนุนพื้นที่ที่สนใจเรียนรู้ในพื้นที่ต้นแบบ เช่น กลุ่มแกนนำชุมชน จ.อุทัยธานี ชัยนาท และปราจีนบุรี
• สนับสนุนสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพตำบล กรณีศึกษา ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

          การสื่อสารและการตลาดเพื่อสังคมจึงเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพให้มีเอกภาพสอดคล้องกับเจตนารมณ์ธรรมนูญสุขภาพฯ ที่ต้องการสร้างระบบสุขภาพพึงประสงค์ขึ้นมาในสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็สร้างกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นรัฐบาล พรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ องค์กรยุทธศาสตร์ ชุมชน ท้องถิ่น และบุคคลต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการขับเคลื่อนกระบวนการอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลสัมฤทธิ์ซึ่งต้องอาศัยการประเมินผลอย่างเป็นระบบและอยู่บนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกระดับและทุกภาคส่วนจึงจะทำให้ระบบสุขภาพของไทยไม่ผิดทิศทางไปจากสาระสำคัญของธรรมนูญสุขภาพฯ

Last modified onSunday, 19 April 2015 09:10