wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women paula young wigs wigs wig shampoo short hair wigs wigs wigs
การจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

การจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

    | หมวด : นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  |  เปิดอ่าน 8038 ครั้ง  

ความเป็นมาและพัฒนาการของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

1.สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 เมื่อ 17 – 18 มิถุนายน 2557 ได้เห็นชอบมติที่ 6.8 เรื่องกับการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย

1.1 การปฏิรูประบบการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการจัดการภัยคุกคามสุขภาพ
1.2 การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ
1.3 การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพ
1.4 การปฏิรูประบบการเงินการคลัง และระบบหลักประกันสุขภาพ
1.5 การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

2. ภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ได้มอบหมายให้ พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ดูแลงานด้านสังคมที่ครอบคลุมถึงด้านสุขภาพด้วย โดยมีมติจากที่ประชุม คสช. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 “มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยานำเรื่องการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการระบบบริหารจัดการระบบสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวม เสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่จะตั้งขึ้นตามแนวทางการปฏิรูปประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในระยะที่ 2”

3. วันที่ 2 สิงหาคม 2557 ได้มีการประชุมหารือของผู้แทนหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหลักด้านสุขภาพ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง เพื่อพิจารณานโยบายของ คสช. ดังกล่าวและเห็นร่วมกันว่า ควรจะพัฒนากลไกหรือเครื่องมือเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในระยะต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ 6.8 เรื่อง ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า มีประเด็นสำคัญที่ควรขับเคลื่อนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาเสนอ คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบต่อไป ได้แก่

3.1 การปฏิรูประบบสุขภาพในระยะเร่งด่วน เสนอให้จัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ยึดโยงการทำงานของหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วน โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
3.2 การปฏิรูประบบสุขภาพในระยะยาว เสนอให้นำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 มติ 8 เรื่อง “การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย” เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

4. วันที่ 8 สิงหาคม 2557 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2557 ได้มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอประเด็นสำคัญที่ควรขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาวข้างต้น และได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คสช.

5. วันที่ 25 สิงหาคม 2557 หัวหน้า คสช. (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้ลงนามอนุมัติการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

6. วันที่ 29 สิงหาคม 2557 หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ที่มีนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน เป็นกลไกพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพฯ ที่เป็นรูปธรรมต่อไป

7. คณะทำงานฯ ได้จัดประชุมพัฒนาเอกสารรูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการและจัดกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคี เครือข่ายและสาธารณะในหลายช่องทาง ได้แก่

  • วันที่ 12 กันยายน 2557 เวทีพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกำหนดเป็นระเบียบวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ณ โรงแรมปริ๊นส์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2557 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะทำงานฯ
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2557 เวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง รูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เมื่อ ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2557 เวทีรับฟังความคิดเห็นในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
  • เผยแพร่เอกสารร่างรูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และรับฟังความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียตลอดกระบวนการ รวมถึงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในระดับพื้นที่และภายในกลุ่มเครือข่ายต่างๆ

กลไกการดำเนินงาน

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มีนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นเลขานุการ ประกอบด้วยคณะทำงานจำนวน 20 คน มีบทบาทหน้าที่ในการจัดกระบวนการทางวิชาการและการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ตามรายละเอียดคำสั่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ 4/2557 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2557

 

รูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

 

Chart RHB290558ภาพรวมกลไกการบูรณาการการจัดการระบบสุขภาพโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

 

ระบบสุขภาพ หมายถึงระบบทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (สุขภาพทางกาย ใจ ปัญญา สังคมและการแพทย์และสาธารณสุข)

ระบบสุขภาพของประเทศไทย เป็นระบบพหุลักษณ์ มีหน่วยงาน องค์กรภาคีหลายภาคส่วนเข้าร่วมจัดการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการการทำงานในทุกระดับ

ในแผนภาพ

  • กระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกหลักของรัฐ จัดการงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อสาธารณะ มีหน่วยงานครอบคลุมทั่วประเทศ จากส่วนกลางถึงตำบลหมู่บ้าน ใช้การอภิบาลระบบโดยรัฐ (governance by state) มีระบบและโครงสร้างดังภาพ
  • สปสช. เป็นกลไกของรัฐในกำกับกระทรวงสาธารณสุข จัดการกองทุนเพื่อให้ประชาชนประมาณ 50 ล้านคน (ที่อยู่นอกระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ)ได้รับบริการการพแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นโดยถ้วนหน้า ใช้การอภิบาลระบบโดยรัฐผสมเครือข่าย (governance by state and network)
  • สถานพยาบาลสังกัดกระทรวง/หน่วยงานรัฐอื่น จัดการงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย,กระทรวงกลาโหม,กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ เพื่อบริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและทั่วไป ใช้การอภิบาลโดยรัฐ(governance by state)
  • โรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพเอกชน จัดการงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อประชาชน ใช้การอภิบาลระบบโดยตลาด (governance by market)
  • สสส. เป็นกลไกอิสระของรัฐ จัดการงานเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทั้ง4มิติ ทั่วประเทศ ใช้การอภิบาลระบบโดยเครือข่าย(governance by network)
  • สช. เป็นกลไกของรัฐในกำกับนายกรัฐมนตรี สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพทั้ง4มิติที่เน้นการมีส่วนร่วม ใช้การอภิบาลระบบโดยเครือข่าย(governance by network)

นอกจากนี้ ยังมีองค์กรวิชาชีพ วิชาการ ชุมชน ประชาสังคม องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) และเครือข่ายองค์กรภาคีต่างๆ มีส่วนร่วมจัดการในระบบสุขภาพระดับต่างๆตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนอีกเป็นจำนวนมาก

ในเชิงพื้นที่

  • ในระดับอำเภอ กำลังมีการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ(Integrated District Health System) เพื่อจัดการงานด้านสุขภาพแบบบูรณาการทั้ง4มิติ เน้นการมีส่วนร่วม โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
  • ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีความพยายามพัฒนากลไกเพื่อบูรณาการ/สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่
  • เขตบริหารและบริการวิชาการของกรมต่างๆในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • เขตบริการสุขภาพภายในของกระทรวงสาธารณสุข
  • เขตบริหารของ สปสช.
  • เขตสุขภาพเพื่อประชาชน บูรณาการงานสุขภาพ 4 มิติของทุกภาคส่วน
  • ในระดับประเทศ มีแนวคิดการพัฒนากลไกประสานและบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพระดับชาติ ที่เป็นการอภิบาลโดยเครือข่าย(governance by network) เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทาง บูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์และร่วมกันอำนวยการงานด้านสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เสริมพลังกันและกันตามบทบาทหน้าที่ของตน
          สาระสำคัญของรูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ประกอบด้วย ความเป็นมา หลักการสำคัญ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ภารกิจของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ขอบเขตหรือความครอบคลุม โครงสร้าง และแนวทางการทำงานหรือการบริหารจัดการของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ดังรายละเอียดรูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
Last modified onTuesday, 01 September 2015 10:18