wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women wigs for women paula young wigs wigs wig shampoo short hair wigs wigs wigs
การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม



การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
“นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยอย่างชัดเจนในเรื่องสุขภาพ พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายนั้น ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและกายภาพที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และมุ่งให้ประชาชนมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาพดีได้”

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพให้เป็นไปในแนวทางที่เห็นพ้องต้องกันและมีเอกภาพ

smile

          จากการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรภาคี เครือข่าย และสมาชิกที่ร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนเห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อให้การปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศมีทิศทางที่ถูกต้องชัดเจนและมีพลัง สามารถปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้บรรลุเป้าหมายแห่งสุขภาพที่ครอบคลุมทุกมิติโดยประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง จำเป็นต้องมี ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นเจตจำนงและพันธะร่วมกันขอสังคม และเพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ

          คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้น โดยให้สังคมสามารถนำไปใช้เป็นฐานอ้างอิงในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของระบบสุขภาพในอนาคต ทั้งนี้ ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่สามารถจัดทำ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ของตนได้ โดยต้องไม่ขัดหรือแย้งกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

          นับจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว พบว่าได้มีการทำงานที่สอดคล้องตามธรรมนูญสุขภาพ หรือมีการนำธรรมนูญสุขภาพไปใช้อ้างอิงในการทำงานหลากหลายระดับ ซึ่งได้มีการจัดทำข้อมูลสรุปภาพรวมเพื่อให้เห็นการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพไว้ใน หนังสือการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ:รากฐานการจัดวางอิฐก้อนแรกของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติแนวทางในการกำหนด นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒

c1a11e28afb03c9d81c096faa0a5ce8e XL          มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเป็นชอบ โดยในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมัชชาสุขภาพมาประกอบด้วย และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติแล้ว ให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ให้ คสช. ทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ อย่างน้อยทุกห้าปี

          ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นธรรมนูญสุขภาพฉบับแรกและฉบับปัจจุบัน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด 

          เพื่อให้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติมีความเป็นพลวัต สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทีเปลี่ยนแปลงไป สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานเพื่อ การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖

การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
คณะกรรมการทบทวน
ผลการประเมินธรรมนูญ
การประเมินสถานการณ์ระบบสุขภาพรายหมวด
การคาดการภาพอนาคตระบบสุขภาพ
กระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ(ฉบับทบทวน)

ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่เรียนรู้ประสบการณ์ เทคนิควิธีการขับเคลื่อนธรรมนูญฯสุขภาพร่วมกัน

ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่

ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่


จากจุดเริ่มต้นในการจัดทำ ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ฉบับแรกของประเทศไทย  ที่ตำบลชะแล้ ในปี พ.ศ.2551 …

คู่มือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

คู่มือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่


ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ จะนำเราไปสู่การทำแผนสุขภาพชุมชนที่สามารถปฏิบัติการได้จริงและมีผู้รับผิดชอบ…

องค์ความรู้/ถอดบทเรียน

องค์ความรู้/ถอดบทเรียน


สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้สนับสนุนให้มีการจัดทำชุดความรู้ ถอดบทเรียนประสบการณ์การ…

ความเคลื่อนไหวในพื้นที่

ความเคลื่อนไหวในพื้นที่


ติดตามความเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สร้างสุขภาวะของตนเองอย่างหลากหลายและ...

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

สช. ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกลไกและกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมด้วยรูปแบบ วิธีการอื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น การสร้างความร่วมมือทำงานนโยบายกับหน่วยงาน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านกลไกที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แต่งตั้ง เป็นต้น เพื่อให้ได้นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี สามารถนำไปปฏิบัติได...

สถานการณ์ระบบสุขภาพ

สถานการณ์ระบบสุขภาพ

          การประมวลและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพรายปี หรือรายประเด็น เพื่อเป็นเครื่องมือสะท้อนสถานะที่แท้จริงของระบบสุขภาพในภาพรวมและภาพย่อย ที่จะทำให้เห็นโจทย์สำคัญที่ต้องการการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพไปในทิศทางที่ถกต้อง และตอบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการปฏิรูประบบสุขภาพตามเจตนารมณ์ของ...

รายงานตามตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ

รายงานตามตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ

          การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ เป็นความพยายามในการสร้างกรอบการติดตามระบบสุขภาพในระดับมหภาค ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบและปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพกับสภาวะสุขภาพ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของระบบสุขภาพ ชุดตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2554 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคปร...

ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
Prev Next
การสังเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2552-2561)

การสังเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในระยะ 10 ปี …

26 October 2015 / Hits:22155

     การศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระยะ 10 ปี (2552-2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดประมาณความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงมาต...

Read more
รายงานการวิจัย ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของระบบการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ในประเทศไทย

รายงานการวิจัย ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของระบบการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภู…

26 October 2015 / Hits:23680

       การพัฒนา จัดสรร และจัดการกำลังคนด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมกัน  โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบมีรัฐเป็นผู้จัดหาบริการสุขภาพให...

Read more
รู้จักเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

รู้จักเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

13 October 2015 / Hits:1640

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน กลไกใหม่ที่มีรูปแบบการทำงานเชื่อมร้อยองค์กต่างๆ ทั้งภาคราชการ ภาควิชาการ/วิชาชีพ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจะเป็นกลไกบูรณาการแนวราบ สำหรับการดำเนินงานด้านสุขภาพทุกมิติ โดยใช...

Read more
พื้นที่รูปธรรมที่มีการจัดทำและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่

พื้นที่รูปธรรมที่มีการจัดทำและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่

24 April 2015 / Hits:9874

ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน พิษณุโลก เพชรบุรณ์ น่าน พะเยา ภาคอีสาน อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม บึงกา...

Read more
ตัวชี้วัดสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพชุมชน ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๒

ตัวชี้วัดสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพชุมชน ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ฉบับที…

24 April 2015 / Hits:1419

กระบวนการในการจัดทำตัวชี้วัดสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพชุมชน ตำบลชะแล้ ใช้กรอบแนวคิดของ ๑๐ หมวดของธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้เป็น ตัวตั้ง แล้วให้ชุมชนคิดว่าจะกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จได้อย่างไรบ้างตามบริบทของ ช...

Read more
รายงานตามตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ

รายงานตามตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ

24 April 2015 / Hits:6746

          การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ เป็นความพยายามในการสร้างกรอบการติดตามระบบสุขภาพในระดับมหภาค ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบและปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่...

Read more
กระบวนการรับฟังความเห็นโดยคณะวิชาการ

กระบวนการรับฟังความเห็นโดยคณะวิชาการ

3 March 2015 / Hits:2463

          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ประสานการดำเนินงานกับองค์กรและคณะนักวิชาการในการรับเป็นแกนจัดกระบวนการรับฟังความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ตามหมวดในธรรมนูญสุ...

Read more
ผลการประเมินธรรมนูญสุขภาพ

ผลการประเมินธรรมนูญสุขภาพ

26 February 2015 / Hits:2336

          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สนับสนุนให้ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเมินผลและทบทวนแน...

Read more
การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

26 February 2015 / Hits:4914

          เนื่องจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงรอบของการทบทวนภายในปี ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ...

Read more
คู่มือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

คู่มือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

16 February 2015 / Hits:7943

“ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่” นั้น จะนำเราไปสู่การทำแผนสุขภาพชุมชนที่สามารถปฏิบัติการได้จริงและมีผู้รับผิดชอบร่วมกันแต่ละด้านอย่างชัดเจน ทำให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชนได้มีบทบาทด้านสุขภาพ...

Read more
ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่

ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่

16 February 2015 / Hits:5857

จากจุดเริ่มต้นในการจัดทำ ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ฉบับแรกของประเทศไทย  ที่ตำบลชะแล้ ในปี พ.ศ.2551 จนกระทั่งปัจจุบัน พบว่า แนวคิดของธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ได้มีการขยายตัวออกไปยังตำบลและอำเภ...

Read more

samatchahiathailivingwillhealthstation

ติดต่อเราContact us right now!

 

Contact Form

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

สช. คือ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) เมื่อการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติประสบผลสำเร็จ มีผลบังคับใช้หลังลงการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ส่งผลให้องค์กรที่ดำเนินการเรื่องนี้ต้องเปลี่ยนผ่านจากความเป็น สปรส. มาเป็น สช. นับตั้งแต่นั้น ตามที่ได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ว่า “ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้”

ที่อยู่

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 หมู่ที่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 ประเทศไทย

Locate Us