การสนับสนุนกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพทุกระดับ
| หมวด : ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ | เปิดอ่าน 2684 ครั้ง
การสนับสนุนการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับในการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ไปใช้งาน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในด้านสุขภาพ นั้น จำเป็นต้องจัดทำสื่อและข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
๑. การผลิตสื่อและฐานข้อมูลความรู้พื้นฐาน ได้แก่
• หนังสือชุดความรู้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ที่ประกอบด้วยเนื้อหา พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ประกอบกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
• รู้จักและเข้าใจธรรมนูญฯ (ฉบับการ์ตูน)
• สธ.-สช.ใบไม้ต้นเดียวกัน
• การประเมินและทบทวนธรรมนูญสุขภาพ
• การสังเคราะห์สถานการณ์ระบบสุขภาพ และภาพอนาคตระบบสุขภาพ
๒. การผลิตหนังสือในลักษณะของแนวทางปฏิบัติ (How to) ที่ว่าด้วยกระบวนการใช้ประโยชน์ธรรมนูญสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ ได้แก่
• แนวทางการนำธรรมนูญสุขภาพฯ ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• แนวทางการนำธรรมนูญสุขภาพฯ ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน
• ถอดบทเรียนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ๔ พื้นที่ ชุด ‘ก่อ ร่าง สร้าง เคลื่อน ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่’
๓. สื่อวีดิทัศน์เกี่ยวข้องกับการนำธรรมนูญสุขภาพฯ
• การใช้สื่ออื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของธรรมนูญสุขภาพฯ เช่น Roll up นิทรรศการธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ
• การพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับพื้นที่ เช่น
• การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพฯ ๔ พื้นที่ภาคเหนือ
• โครงการจุดประกายศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งผ่านกลไกธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ให้แก่แกนนำชุมชน ๕ พื้นที่
• การถอดบทเรียนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ๔ พื้นที่ภาคเหนือ โดยสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน นครสวรรค์
• การเสวนาวิชาการสมัชชาสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพในงาน ๑ ทศวรรษสมัชชาสุขภาพ
• โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพฯ หลังประกาศใช้จำนวน ๙ พื้นที่
• โครงการเสริมพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ: ธรรมนูญสุขภาพ อย่างต่อเนื่องจำนวน ๖ ครั้งเพื่อจุดประกายการจัดทำธรรมนูญ ในปีที่ผ่านมา
• สนับสนุนสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้ จ.สงขลา และเทศบาลตำบลเปือย จ.อำนาจเจริญ จัดกระบวนการเรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นที่สนใจการจัดทำธรรมนูญสุขภาพฯ รวม ๓ ครั้ง
• การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งผ่านกลไกธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ได้สนับสนุนพื้นที่ที่สนใจเรียนรู้ในพื้นที่ต้นแบบ เช่น กลุ่มแกนนำชุมชน จ.อุทัยธานี ชัยนาท และปราจีนบุรี
• สนับสนุนสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพตำบล กรณีศึกษา ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
การสื่อสารและการตลาดเพื่อสังคมจึงเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพให้มีเอกภาพสอดคล้องกับเจตนารมณ์ธรรมนูญสุขภาพฯ ที่ต้องการสร้างระบบสุขภาพพึงประสงค์ขึ้นมาในสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็สร้างกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นรัฐบาล พรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ องค์กรยุทธศาสตร์ ชุมชน ท้องถิ่น และบุคคลต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการขับเคลื่อนกระบวนการอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลสัมฤทธิ์ซึ่งต้องอาศัยการประเมินผลอย่างเป็นระบบและอยู่บนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกระดับและทุกภาคส่วนจึงจะทำให้ระบบสุขภาพของไทยไม่ผิดทิศทางไปจากสาระสำคัญของธรรมนูญสุขภาพฯ