ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ
| หมวด : นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ | เปิดอ่าน 2792 ครั้ง
ความเป็นมา
ในการประชุม คสช. ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ เพื่อเป็นกลไกติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 เรื่อง ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ มี นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน และมีประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์สิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมกัน และมีบทบาทหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการให้กับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มติที่ 2 เรื่องความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ รวมไปถึงมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 มติที่ 10 เรื่องเร่งรัดการสร้างเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
กลไกการดำเนินงาน
คณะกรรมการสุขภาพคนพิการ เป็นกลไกระดับชาติ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ตามคำสั่งที่ 7/2555 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555 มี นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน และมีประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์สิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมกัน
มีบทบาทหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการให้กับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มติที่ 2 เรื่องความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ รวมไปถึงมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 มติที่ 10 เรื่องเร่งรัดการสร้างเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ดังรายละเอียดคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ
การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ
1) คณะกรรมการได้ดำเนินการทบทวนและรวบรวมมติสมัชชาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนพิการความพิการรวมจำนวน 11 มติ รวมถึงมติสมัชชาระดับจังหวัด 3 จังหวัด (ตรัง สงขลา และพิจิตร) นอกจากนั้น ยังมีธรรมนูญสุขภาพอีก 3 หมวด จำนวน 4 ข้อ เพื่อติดตามและสนับสนุนให้มติต่างๆ ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยได้กำหนดประเด็นและแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญๆ ไว้ 11 ประเด็น ในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ปี 2556-2557)
2) คณะกรรมการฯ มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอทุก 2 เดือน โดยมีการประชุมไปแล้ว จำนวน 14 ครั้ง เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีการนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานด้านต่างๆ ความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางการเชื่อมโยงหนุนเสริมการดำเนินงานซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วม และกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการขับเคลื่อนงาน
3) มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อเป็นกลไกดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คณะ ดังนี้
- คณะทำงานจัดทำรายงานความก้าวหน้า มติสมัชชาสุขภาพประเด็น “ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพคนพิการ” เพื่อรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7
- คณะทำงานจัดทำ กรอบความคิด ขอบเขต กระบวนการขับเคลื่อน และแนวทางการยกร่างแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ทางสติปัญญา ออทิสติก และการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
4) ดำเนินการทบทวนและรวบรวมมติสมัชชาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนพิการความพิการรวมจำนวน 11 มติ รวมถึงมติสมัชชาระดับจังหวัด 3 จังหวัด (ตรัง สงขลา และพิจิตร) นอกจากนั้น ยังมีธรรมนูญสุขภาพอีก 3 หมวด จำนวน 4 ข้อ เพื่อติดตามและสนับสนุนให้มติต่างๆ ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยได้กำหนดประเด็นและแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญๆ ไว้ 11 ประเด็น ในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ปี 2556 - 2557)
5) สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ในฐานะกรรมการและเลขานุการร่วม ได้มีการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้เสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การมีนโยบายหรือการนำลงสู่การปฏิบัติ ที่สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการอีกหลายมิติ อาทิ
- การศึกษาประเด็นการจดทะเบียนคนพิการเชิงประจักษ์ ที่ได้ข้อมูลเสนอต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีการมอบอำนาจการจดทะเบียนคนพิการไปที่ระดับอำเภอ ซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับบริบทที่จะช่วยให้คนพิการเข้าถึงการขอมีบัตรคนพิการได้ง่ายขึ้น
- การศึกษาและติดตามประเมินผลการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ด้านบริการ Orientation & Mobility Training สำหรับคนตาบอด และการพัฒนาบริการเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยิน
- การศึกษาทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ และจัดทำข้อเสนอต่อคณะกรรมการสามกองทุน เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพ (ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และประกันสุขภาพถ้วนหน้า)