การสังเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2552-2561)
| หมวด : การพัฒนานโยบายสาธารณะ (รายประเด็น) | เปิดอ่าน 21344 ครั้ง
การศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระยะ 10 ปี (2552-2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดประมาณความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงมาตรการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดำเนินการศึกษา ใน 12 สาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย สาขาทันตกรรม สาขาเภสัชกรรม สาขาการพยาบาล สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค สาขากายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขาแก้ไขความผิดปกติการสื่อความหมาย และสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ธนาคารเลือด
ผลการคาดประมาณความต้องการและกำลังคนที่จะมีในอนาคต พบว่า ยังคงมีความขาดแคลน
กำลังคนทุกสาขาวิชาชีพ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการรักษาพยาบาลของประเทศ แต่เมื่อวิเคราะห์ความสามารถในการผลิตกำลังคน พบว่า มีเพียงสาขาทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักเทคนิคการแพทย์ เท่านั้นที่มีกำลังการผลิตที่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการดังกล่าว ส่วนสาขาพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต 8,000 คน ต่อปี ที่ยังมีความขาดแคลนอาจารย์อยู่กว่า 1,000 คน จึงมีข้อจำกัดในศักยภาพการผลิตเพิ่ม จึงควรการพัฒนาระบบการจ้างงานในภาคบริการสุขภาพเพื่อดึงดูดให้บุคลากรดังกล่าวเข้าสู่ระบบบริการ โดยเฉพาะในภาครัฐ ที่ทุกสาขาวิชาชีพ ต่างมีข้อเสนอเกี่ยวกับ ความต้องการตำแหน่งราชการเพื่อบรรจุบุคลากร เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนกำลังคน
ผลการคาดประมาณความต้องการและกำลังคนที่จะมีในอนาคต พบว่า ยังคงมีความขาดแคลน
กำลังคนทุกสาขาวิชาชีพ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการรักษาพยาบาลของประเทศ แต่เมื่อวิเคราะห์ความสามารถในการผลิตกำลังคน พบว่า มีเพียงสาขาทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักเทคนิคการแพทย์ เท่านั้นที่มีกำลังการผลิตที่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการดังกล่าว ส่วนสาขาพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต 8,000 คน ต่อปี ที่ยังมีความขาดแคลนอาจารย์อยู่กว่า 1,000 คน จึงมีข้อจำกัดในศักยภาพการผลิตเพิ่ม จึงควรการพัฒนาระบบการจ้างงานในภาคบริการสุขภาพเพื่อดึงดูดให้บุคลากรดังกล่าวเข้าสู่ระบบบริการ โดยเฉพาะในภาครัฐ ที่ทุกสาขาวิชาชีพ ต่างมีข้อเสนอเกี่ยวกับ ความต้องการตำแหน่งราชการเพื่อบรรจุบุคลากร เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนกำลังคน
Download attachments:
- study_YYYYYYY_10_YY_YYYY.pdf (24660 Downloads)
Last modified onTuesday, 27 October 2015 03:04
Tagged under :