รายงานการวิจัย ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของระบบการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ในประเทศไทย
| หมวด : การพัฒนานโยบายสาธารณะ (รายประเด็น) | เปิดอ่าน 22885 ครั้ง
การพัฒนา จัดสรร และจัดการกำลังคนด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบมีรัฐเป็นผู้จัดหาบริการสุขภาพให้กับประชาชน ดังเช่น กรณีประเทศไทย มีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น จำนวนของทรัพยากรที่มี ความต้องการของประชาชน การธำรงรักษากำลังคนด้านสุขภาพ การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ทำงานทางด้านสาธารณสุข การควบคุมและดูแลคุณภาพการผลิต ปัญหาการพัฒนาศักยภาพกำลังคนทางแพทย์ในสาขาเฉพาะทาง และปัญหาปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ ได้แก่ การไม่มีตำแหน่งบรรจุ และ การขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพที่รุนแรงในบางภูมิภาค เป็นต้น
สถานการณ์ปัจจุบัน ความต้องการกำลังคนทางการแพทย์สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุ โรคเรื้อรังซึ่งรวมทั้งโรคทางจิต และอุบัติการณ์การเกิดโรคใหม่ ประกอบกับปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจเอกชน และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ และพยากรณ์ความต้องการกำลังคนทางด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต และด้วยความต้องการที่หลากหลายของประชาชนต่อความต้องการบริการทางการแพทย์ การศึกษาครั้งนี้จึงเน้นไปที่การศึกษาอุปสงค์ของทั้งแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทาง ที่ยังไม่เคยมีการศึกษาอย่างชัดเจนว่ามีแพทย์สาขาใดที่ขาด สาขาใดพอดี แม้กระทั่งสาขาใดที่มีเกินกว่าความต้องการของประชาชนแล้ว โดยการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะแรก เป็นการทบทวนวรรณกรรมและการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลด้านความต้องการการไปรับบริการทางการแพทย์ของประชาชน
2. ระยะที่สอง เป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลเพิ่มเติม และการวิเคราะห์และพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานกำลังคนทางการแพทย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ปี พ.ศ. 2564)
Download attachments:
- 10.1_Report_Literature_review_Feb28_1_.pdf (18921 Downloads)
- REPORT2.pdf (17914 Downloads)